คริสตจักรพันธกิจเชียงใหม่ Acts Church of Chiang Mai  
 
206 หมู่1 ต.ป่าแดด อ.เมือง  จ.เชียงใหม่ 50100 Tel. 053 275052, 089 6351009
 
 
CHURCH | SERVICES | PEOPLE GROUP | MINISTIES | GETTING INVOLVED | NEWS | ACTIVITIES | TESTIMONIES | RESOURCES
คำเทศนา | นมัสการ | สูจิบัตร | Acts News | บทความ | ดนตรี | ภาพยนต์ | หนังสือ | บทเรียนผู้เชื่อใหม่ | กิจกรรม | คำพยาน | คู่มือเฝ้าเดี่ยว QT  



วิวัฒนาการของการแปลพระคัมภีร์ไทย

ยุค แรกเกี่ยวกับความเป็นมาของพระคัมภีร์ไทยอาจเรียกว่ายุคก่อนที่จะมีการแปลพระ คัมภีร์ในเมืองไทย ความจริงศาสนาคริสต์เข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรกนั้น ผู้ที่นำเข้ามาคือ บาทหลวงคาทอลิก ซึ่งเข้ามาเผยแผ่ศาสนาเมื่อประมาณปี ค.ศ.1662 ในสมัยของพระนารายณ์มหาราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา  มีการแปลคำสอนหลายๆ อย่างเป็นภาษาไทย แต่ไม่ปรากฏว่ามีการแปลพระคัมภีร์ แต่มีการรวบรวมประวัติของพระเยซู โดยสรุปจากพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มมาเขียนเป็นหนังสือชื่อว่า “พระพุทธเยซู” หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มเดียวที่มีต้นฉบับหลงเหลืออยู่

       การแปลพระคัมภีร์ไทยครั้งแรกไม่ได้เกิดขึ้นที่เมืองไทย แต่เกิดขึ้นที่ประเทศพม่าในต้นศตวรรษที่ 19 โดยคุณแอนนา จัดสัน ภรรยา ของอโดนิราม จัดสัน มิชชันนารีคณะอเมริกันแบ๊พติสต์ ได้พบว่ามีคนไทย ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกอยู่ในประเทศพม่า คุณแอนนามีภาระใจอยากจะแปลคำสอนและแปลพระคัมภีร์ภาษาไทย อย่างไรก็ตามสิ่งที่คุณแอนนาทำไม่มีหลักฐานหลงเหลืออยู่เลย ที่เรารู้ได้ก็เพราะมีจดหมายโต้ตอบที่คุณแอนนาเขียนไปถึงเพื่อนคนหนึ่งว่า ท่านได้แปลบทเรียนเพื่อผู้เชื่อใหม่และพระธรรมมัทธิวเป็นภาษาไทยเสร็จเรียบ ร้อย โดยการช่วยเหลือของครูสอนภาษาไทย ดูเหมือนจะมีการส่งไปพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของคณะแบ๊พติสต์ที่เมืองกัลกาตา ประเทศ อินเดีย ใน ปี ค.ศ.1819 นอกจากนี้หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งก็คือจดหมายของศจ.เบอร์นที่กล่าวถึงการทำตัว พิมพ์ไทยและการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศสิงคโปร์


ศตวรรษที่ 19 ยุคแห่งการแปลพระคัมภีร์
 

- ภาคพันธสัญญาใหม่

       การ แปลพระคัมภีร์ไทยเริ่มจากนิกายโปรเตสเตนท์ โดยมิชชันนารีคู่แรกที่มาเมืองไทย คือ ดร.คาร์ล กู๊ดสลาฟ และ ศจ.จาค็อบ ทอมลิน จากสมาคมมิชชันแห่งลอนดอน ได้เข้ามาประกาศข่าวประเสริฐเป็น กลุ่มแรก โดยมาถึงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.1828 แท้จริง ดร.คาร์ล กู๊ดสลาฟ มีภาระใจที่จะรับใช้พระเจ้าในประเทศจีน แต่พระเจ้าทรงนำท่านมาเมืองไทย ท่านเป็นคนที่เข้าใจในภาษาจีนด้วย และเมื่ออยู่เมืองไทย ท่านมีภาระใจที่จะแปลพระคัมภีร์ ท่านได้เรียนภาษาไทยและเริ่มแปลพระกิตติคุณลูกาเป็นภาษาไทย วิธีการแปลของท่านก็คือท่านได้ให้ นายคิง ชาวจีน อ่านพระคัมภีร์จากภาษาจีนแล้วนายฮอน ชาวพม่า ซึ่งรู้ภาษาจีนและภาษาไทยเป็นคนแปล หลังจากนั้นประมาณหกเดือนการแปลพระกิตติคุณสี่เล่มและพระธรรมโรมก็สำเร็จ แต่ต่อมาในปลายปี ค.ศ.1828 ศจ.ทอมลินป่วยและต้องไปรักษาตัวที่ประเทศสิงคโปร์ ดร.กู๊ดสลาฟจึงเดินทางไปด้วย และนำพระกิตติคุณลูกาไปพิมพ์ที่นั่น ระหว่างนั้น ดร.กู๊ดสลาฟได้แต่งงานกับคุณมาเรีย นีแวล และกลับมาทำงานในประเทศไทยโดยได้แปลพระคัมภีร์ต่อไป แต่ไม่แน่ชัดว่าทำได้แค่ไหน พระคัมภีร์เล่มแรกที่ท่านส่งไปพิมพ์ที่ประเทศสิงคโปร์คือพระธรรมลูกา ซึ่งพิมพ์เสร็จในปี ค.ศ.1834 เป็นพระคัมภีร์ไทยเล่มแรกที่มีการแปลและการพิมพ์ แต่ต้นฉบับที่หลงเหลืออยู่เป็น Micro Film ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ประเทศอเมริกา 

       หลังจากที่ท่านกลับมาเมืองไทยได้ 2-3 ปี ในปี ค.ศ.1831 คุณมาเรียก็เสียชีวิตระหว่างการคลอด ดร.กู๊ดสลาฟสะเทือนใจมากจึงเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจาก ดร.กู๊ดสลาฟ และศจ.จาค็อบ ทอมลิน มีภาระใจเกี่ยวกับเมืองไทยมาก ท่านได้พยายามเขียนจดหมายไปหามิชชันนารีคณะต่างๆ ให้มาทำงานในเมืองไทย และมีหลายคณะที่ตอบสนอง โดยคณะแรกที่เข้ามาคือ คณะอเมริกันแบ็พติสต์ จากนั้นก็มีคณะอื่นๆ ตามมาดังนี้


คณะอเมริกันแบ็พติสต์


       ใน ปี ค.ศ.1833 ศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ จากคณะอเมริกันแบ็พติสต์ได้เดินทางมาประเทศไทยตามคำร้องขอของมัชชันนารีสอง คนแรก แต่ท่านประกาศกับคนจีนที่อพยพมาในไทยเป็นหลัก จนในปี ค.ศ.1835 มิชชันนารีอีกท่านหนึ่งคือ ศจ.วิลเลียม ดีน ได้เดินทางมาสมทบ จึงมีการประกาศกับคนไทย ศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ ได้เริ่มแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย โดยแปลพระกิตติคุณมัทธิวเป็นเล่มแรก ในปี ค.ศ.1834 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระกิตติคุณลูกาของ ดร.กู๊ดสลาฟ พิมพ์เสร็จ ศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ ได้แปลพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่จนเสร็จและพิมพ์ในปี ค.ศ.1843 นับเป็นพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เล่มแรกของไทย 



คณะอเมริกันบอร์ด ออฟ คอมมิชชันเนอร์ ฟอร์ ฟอเร็นมิชชั่น

       ปี ค.ศ.1834 ศจ.ชาร์ล โรบินสัน และศจ.สเทเฟน จอห์นสัน มิชชันนารีคณะอเมริกันบอร์ด ออฟ คอมมิชชันเนอร์ ฟอร์ ฟอเร็นมิชชันได้มาประกาศในไทยเป็นครั้งแรก และในปีต่อมา ดร.บรัดเลย์ ได้มาสมทบ ท่านเป็นผู้ตั้งโรงพิมพ์ครั้งแรกในไทย และศจ.ชาร์ล โรบินสัน ได้แปลพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มเป็นภาษาไทยและพิมพ์ในปี ค.ศ.1842 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการพิมพ์พระคัมภีร์ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก



คณะเพรสไบทีเรียน

       ใน ปี ค.ศ.1840 ศจ.วิลเลียม บูแอล มิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนเดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในปี ค.ศ.1847 ศจ.สเทเฟน แมทตูน และ ดร.ซามูเอล เฮาส์ เดินทางมาสมทบ เมื่อคณะได้เดินทางมาถึงเมืองไทยและอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ฉบับแปล ของศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ ทางคณะรู้สึกไม่พอใจกับการแปล  ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มแปลใหม่ โดย ศจ.สเทเฟน แมทตูน ได้แปลพระกิตติคุณเสร็จในปี ค.ศ.1850 และได้จัดพิมพ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา



สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกัน

       ใน ปี ค.ศ.1844 สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกันได้ร่วมมือกับ ศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ คณะแบ็พติสต์ และศจ.ชาร์ล โรบินสัน ของคณะอเมริกันบอร์ด ช่วยกันแก้ไขคำแปลพระคัมภีร์ใหม่ฉบับของ ศจ.ดร.จอห์น เทเลอร์ โจนส์ งานแก้ไขทำเสร็จและจัดพิมพ์โดยสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกันในปี ค.ศ.1850 ที่ประเทศไทย ถือเป็นการแก้ไขคำแปลครั้งแรก


- ภาคพันธสัญญาเดิม 

       ใน ปี ค.ศ.1860 สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกันและคณะมิชชันต่างๆ ได้ร่วมมือกันแปลพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม งานแปลทำเสร็จและจัดพิมพ์ในปี ค.ศ.1883 ดังนั้นปี ค.ศ.1883 จึงเป็นปีที่คนไทยมีพระคัมภีร์ไทยทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ใน เล่มเดียวกันเป็นครั้งแรก

       แต่ในระหว่างปี ค.ศ.1881-1883 ช่วงที่พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมใกล้เสร็จ คณะเพรสไปทีเรียนได้มีการแก้ไขคำแปลพันธสัญญาใหม่

       ในปี ค.ศ.1889  สมา คมพระคริสตธรรมอเมริกันได้ตั้งสำนักงานสาขาในไทย เพื่อช่วยเหลือด้านการพิมพ์พระคัมภีร์เป็นภาษาไทย โดยมี ดร.จอห์น คาร์ริงตัน เป็นเลขาธิการคนแรก ท่านได้จำหน่ายแจกจ่ายและแก้ไขพระคัมภีร์ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง แต่การแก้ไขอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นภายหลังที่ท่านจากไป 



ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งการแก้ไขคำแปล



       ภาย หลังเมื่อมีผู้รับใช้คนไทยที่รู้พระคัมภีร์เพิ่มมากขึ้น สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้มีความคิดริเริ่มในการแก้ไขคำแปลพระคัมภีร์ไทยอย่าง มีระบบและมีหลักการ เป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น กล่าวคือ 


- การแก้ไขคำแปลครั้งที่หนึ่ง 

       เริ่ม ขึ้นในปี ค.ศ.1920 สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้จัดให้มีการแก้ไขคำแปลพระคัมภีร์ไทยอย่างเป็นระบบ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงาน และการแก้ไขจะยึดพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ KJV (King James Version) เป็นหลักในการแปล  คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ศจ.พอล เอกิน, อจ.เปลื้อง สุทธิคำ, อจ.ทองสุก มังกรพันธ์, อจ.เจริญ สกุลกัน, อจ.เจริญ วิชัย และ อจ.สุข พงศ์น้อย   การแก้ไขคำแปลทำเสร็จและพิมพ์รวมเล่มในปี ค.ศ.1940 ที่เรียกกันว่าพระคัมภีร์ฉบับ 1940


- การแก้ไขคำแปลครั้งที่สอง 

       ในปี ค.ศ.1954 โดยความช่วยเหลือของ ดร. ยูจีน ไนด้า จากสหสมาคมพระคริสตธรรมสากล สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้มีการแก้ไขคำแปลอีกเป็นครั้งที่สอง โดยมีการจัดระบบและรูปแบบการแก้ไขให้มากขึ้น คือมีการตั้งกรรมการ 3 ชุด ซึ่งประกอบด้วย 1. กรรมการยกร่างคำแปล ทำหน้าที่ยกร่างคำแปลใหม่ 2. กรรมการตรวจสอบ ช่วยตรวจสอบสิ่งที่ผู้ยกร่างแก้ไข และ 3. กรรมการที่ปรึกษา จะคอยให้การสนับสนุนและชี้แนะแนวทางการแก้ไข การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมนั้นใช้พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ RSV (Revised Standard Version) และ ASV (American Standard Version) เป็นหลักในการแปล ในขณะที่การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ใช้ RSV เป็นหลักอย่างเดียว

       คณะกรรมการยกร่างฯ ครั้งนี้มีด้วยกันสี่ท่านคือ อจ.ศรัณย์ ชัยรัตน์, อจ.ดับบลิว ทอมป์สัน, อจ.เฮอร์เบิร์ท เกรทเธอร์ และอจ.ฟรานซิส ซีรี นอกจากนี้ ยังมีผู้ช่วยเหลือทั้งที่เป็นคริสเตียนและไม่เป็นคริสเตียน ดูแลด้านการใช้คำที่สละสลวย ไพเราะ หรือพูดอีกอย่างคือ มีขั้นตอนของการตรวจทานโดยนักลีลาภาษาเพิ่มขึ้น ทั้งมีการขอให้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ช่วยอ่านและเสนอแนะ ซึ่งท่านได้กรุณาอ่านตรวจทาน แต่เนื่องจากท่านมีภารกิจมาก จึงอ่านให้ได้เพียงเล็กน้อย และเสนอแนะมาประมาณสิบแห่ง ข้อเสนอของท่านแม้กรรมการจะไม่ยอมรับทุกข้อ แต่หลายข้อก็เป็นประโยชน์ เช่น การแปลคำว่า ยาห์เวห์ เอโลฮิม (พระยะโฮวา พระเจ้า) เป็นสมเด็จพระเจ้า ท่านเสนอว่าไม่ควรใช้สมเด็จพระเจ้า การแก้ไขทำเสร็จและพิมพ์รวมเล่มในปี 1971 ที่เรียกว่าฉบับ 1971 



- การแปลฉบับประชานิยม

       ใน ระหว่างการแก้ไขคำแปลครั้งที่สอง ในปี ค.ศ.1963 สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้จัดให้มีการแปลพระคัมภีร์อีกฉบับหนึ่งซึ่งมีแนวการ แปลที่แตกต่างจากการแปลเดิม คือการแปลโดยใช้หลักการแปลแบบถอดความ คือแปลความหมายของเนื้อหาให้ถูกต้องเป็นหลักโดยไม่จำเป็นต้องรักษาโครงสร้าง หรือรูปประโยคหรือแม้แต่คำตามต้นฉบับ  โดยยึดถือพระคัมภีร์ภาษาอักฤษฉบับ GNB (Good News Bible) เป็น หลักในการแปล จุดประสงค์เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายโดยเฉพาะคนไทยที่ไม่เป็นคริสเตียน มีผู้ยกร่างคำแปลหลักสองท่านคือคุณจิตบรรจง พิมพ์รัตน์และ ดร.โฮวาร์ด แฮตตัน จากคณะมิชชันโอ เอม เอ็ฟ พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่แปลเสร็จในปี ค.ศ.1977 ส่วนภาคพันธสัญญาเดิมแปลเสร็จในปี ค.ศ. 1983 และได้จัดพิมพ์รวมเล่มในปี ค.ศ. 1984 ฉบับนี้เรียกว่าฉบับประชานิยม



- การแก้ไขคำแปลครั้งที่สาม

       ช่วง กลางปี ค.ศ. 1997 สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้จัดให้มีการแก้ไขคำแปลอีกครั้ง โดยยึดแนวทางการแปลที่ผ่านมาด้วยการตั้งกรรมการสามชุดและมีการตรวจทานโดยนัก ลีลาภาษา แต่การแก้ไขคำแปลครั้งนี้มีหลักการคือไม่ยึดพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ให้ผู้ยกร่างที่รู้ภาษากรีกและฮีบรู ยึดพระคัมภีร์ฉบับกรีกและะฮีบรูของสหสมาคมพระคริสตธรรมเป็นหลักในการแก้ไข กรรมการยกร่างคำแปลครั้งนี้ประกอบด้วย ศจ.โรเบิร์ต คอลลินส์, ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย, ดร.วรรณภา เรืองเจริญสุข, อจ.พัชรินทร์ ชัชมนมาศ, อจ.ทอง หล่อ วงศ์กำชัย และอจ.ปัญญา โชชัยชาญ พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ทำเสร็จและพิมพ์ออกในปี ค.ศ. 2002 และสมาคมฯ คาดว่าจะสามารถทำเสร็จทั้งเล่มในปี ค.ศ. 2011  



เขียนโดย สมาคมพระคริสตธรรมไทย
ข้อมูลจาก >>> http://www.gracezone.org/index.php/other-knowlage-christian/732-2009-12-16-17-30-06
และพบกับบทความดีๆอีกมากมายได้จาก http://www.gracezone.org












= RESOURCES =
Sermon
คำเทศนา
Sermon Series
ชุดคำเทศนา
Worship
นมัสการวันอาทิตย์
Acts News
ข่าวคริสตจักร
Article
บทความน่าสนใจ
Music
เพลงนมัสการ
Movies
หนังน่าสนใจ
Book
หนังสือแนะนำ
Sources
บทเรียนสำหรับสมาชิก
Worship Song
เนื้อเพลงนมัสการ
  ศาสนศาสตร์คืออะไร ทำไมต้องศาสนศาสตร์
ทำไมคริสตชนต้องรู้ศาสนศาสตร์ ต้องศึกษาศาสนศาสตร์ รู้พระคัมภีร์เฉยๆ ไม่ได้หรือ?
  จงออกไปประกาศข่าวประเสริฐ
เราจะนอนหลับได้อย่างไร เมื่อทุกๆวันมีผู้คนกำลังตายไปโดยไม่ได้รับความรอด
  ความรักสี่แบบและความรักคริสเตียน
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งบันทึกด้วยภาษากรีก ปรากฏคำเกี่ยวกับความรักอยู่ถึง 4 คำด้วยกัน ใช้บรรยาย ความรักที่แยกย่อยได้ถึง 4 ประเภท
  น้ำพระทัยของพระเจ้า
พระคัมภีร์ไม่ได้สอนเรื่องน้ำพระทัยของพระเจ้าแก่เรา ให้เป็นแค่เพียงแค่ความรู้เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราในฐานะของผู้เชื่อ
  การตีสอนของพระเจ้า
บุตรชายของเราเอ๋ย อย่าละเลยต่อการตีสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้า และอย่าท้อถอยในเมื่อพระองค์ทรงตีสอนนั้น เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตีสอนผู้ที่พระองค์ทรงรัก และเมื่อพระองค์ทรงรับผู้ใดเป็นบุตร พระองค์ก็ทรงตีสอนผู้นั้น
  การรับประทานอาหารที่ถวายรูปเคารพ
การกระทำของเราควรตั้งอยู่บนความรักที่มีต่อพระเจ้าและคนอื่นเป็นอันดับแรก หากความรักเป็น สิ่งแรกที่เราใช้ในการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ เราจะปฏิเสธที่จะทำหรือหนุนใจให้คนอื่นทำในสิ่งที่ทำให้ผู้เชื่อแม้แต่เพียง หนึ่งคนสะดุดซึ่งเป็นเหตุนำเขาไปสู่ความพินาศ
 
MORE
ดูทั้งหมด


 
CONTACT
Vision | Mission Statement | Core Values | Pastor | Milestones
Sunday Service | Children Church | Bible Classes | Cell Groups | Pray Meeting
Adult | Young Pro. | Youth | Children | Toa
Visit Service | Visit Cell Groups | Membership | Church Office | Sunday Activities
Outreach | Church Camp | Membership | City Wide | Children | Worship Team | Art Class
Sermon | Worship | Bulletin | Acts News | Article | Music | Movies | Book | Sources